AI-TaSI: Andaman Intelligent Tourism and Service Informatics Center

ศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน

Andaman Intelligent Tourism and Service Informatics Center

ศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน (Andaman Intelligent Tourism and Service Informatics Center หรือ AI-TASI) วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เป็นศูนย์วิจัยที่ให้บริการดังนี้

1.วิจัยด้านการท่องเที่ยวโดยใช้ศาสตร์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล 

2.รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริการและท่องเที่ยวฝั่งอันดามันเพื่อให้บริการและความรู้แก่หน่วยงานรัฐ ผู้ประกอบการและชุมชนในด้านการท่องเที่ยว 

3.ให้คำปรึกษาด้านงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ 

4.พัฒนาระบบอัจฉริยะด้านการท่องเที่ยวเพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว  


เป็นที่ทราบกันดีว่าเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคอุตสาหกรรมการบริการ ท่องเที่ยว และโรงแรมเป็นหลัก รวมถึงประเทศไทยได้มีนโยบาย และมาตรการเกี่ยวกับการให้บริการเชิงสุขภาพมานานกว่า 10 ปี และปรับปรุงตลอดมา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะมุ่งเน้นการการพัฒนาสินค้าและบริการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและบริการมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยว คณภาพ และกลุ่มนักท่องเท่ียวที่มีความสนใจเฉพาะด้านโดยมุ่งสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำการท่องเท่ี่ยวเชิงสุขภาพระดับภูมิภาค ซึ่งสามารถสร้างรายได้หลักจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีรายได้สูงหลายกลุ่ม อาทิ นักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ  (Senior travelers) นักท่องเที่ยวแบบครอบครัว (Family Travelers) นักท่องเที่ยวแบบประหยัด (Backpacking travelers)  นักท่องเที่ยวแบบอิสระ (Independent travelers)  นักท่องเที่ยวกลุ่มกีฬา (Sport Tourist)

ด้วยลักษณะเฉพาะของนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นพฤติกรรมการท่องเที่ยวและความสนใจของนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มจึงแตกต่างกันด้วย วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการวิจัย และศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว เพื่อนำผลจากการศึกษาที่ได้มาช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านธุรกิจการท่องเที่ยว และการบริการในกลุ่มจังหวัดอันดามัน ซึ่งการศึกษาหารายละเอียดพฤติกรรมเหล่านี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นจากธุรกิจท่องเที่ยวและการบริการ เช่น ข้อมูลการรีวิวการใช้บริการในสังคมออนไลน์ ข้อมูลการสำรวจเชิงพื้นที่ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยว ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน โดยข้อมูลเหล่านี้จะมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้แม่นยำขึ้น และนำไปพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการบริการ เช่น Forecasting system (ระบบการพยากรณ์) Logistic planning system (ระบบการวางแผนโลจิสติกส์) Travel planning system (ระบบการวางแผนการเดินทาง) 

ในการนำวิเคราะห์และศึกษาข้อมูลดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) วิทยาการข้อมูล (Data Science) วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) รวมถึงศาสตร์ทางด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (Tourism Domain) เพื่อให้การทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถขับเคลื่อนผลงานวิจัยให้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์จึงได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน