News
CoC-PSU ร่วมจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมในการประชุมสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เมื่อวันเสาร์ ที่ 20 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อซีส นันทอมรพงศ์ คณบดีวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์, BLOCK - PSU Blockchain Research Team นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วโรดม วีระพันธ์, และ Andaman Intelligent Tourism and Service Informatics Center (AI-TaSI) นำโดย ดร.กาญจนา เหล่าเส็น และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพงศ์ ทองเทพ ร่วมจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับ การนำระบบปัญญาประดิษฐ์ และ การนำเทคโนโลยี Blockchain / NFT มาประยุกต์ใช้เพื่อการท่องเที่ยว นำเสนอคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ณ บริเวณชั้น 5 อาคาร 7 สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตภูเก็ต
----------------------------------------------------------------
CoC-PSU exhibited research and innovations during the PSU Council meeting
.
Andaman Intelligent Tourism and Service Informatics Center (AI-TaSI) and the BLOCK research teams from the College of Computing at Prince of Songkla University Phuket Campus exhibited research and innovations during the Prince of Songkla University Council meeting in Phuket on May 20, 2023. The booth showcased their research on the implementation of Artificial Intelligence, Blockchain, and NFT technology in the field of tourism and service industries. The exhibition took place at the President’s Office at the Prince of Songkla University Phuket Campus.
ศูนย์ AI-TaSI วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ม.อ.ภูเก็ต จับมือกับ รพ.กรุงเทพภูเก็ต และ รพ.กรุงเทพสิริโรจน์ เพื่อวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ
วันที่11 เมษายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อซีส นันทอมรพงศ์ คณบดี วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์, ดร.กาญจนา เหล่าเส็น หัวหน้าศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน และนายแพทย์ณรงค์ฤทธิ์ ฮาวรังษี รองประธานคณะผู้บริหารกลุ่ม 6 บจม กรุงเทพดุสิตเวชการ พร้อมด้วย นายแพทย์พิริยะ อธิสุข รองอำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์ ผู้บริหารโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ตและ โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์ ตลอดจนคณะผู้บริหารทั้งสองหน่วยงานร่วมในพิธีและเป็นสักขีพยานในลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง ศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน (AI-TaSI) วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับ โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต, และ โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์ เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ช่วยขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูเก็ตสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก สอดคล้องนโยบายการพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub)
รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ กล่าวว่า เป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG เป็นการพัฒนาในระดับชาติและนานาชาติ ในหลากหลายประเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนของเป้าหมายที่ 3 Good Health and Well Being โดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพ ให้ประชากรทุกช่วงวัยมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี โดยการดำเนินการด้าน Good Health and Well Being ของมหาวิทยาลัย มีการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพแบบครบวงจร สามารถผลิตบุคลากรเพื่อช่วยเหลือและดูแลประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ และต่อยอดสนับสนุนด้านการวิจัยภายใต้หน่วยงานและคณะต่าง ๆ มีสวัสดิการดูแลให้กับบุคลากรและนักศึกษามีสุขภาพที่ดีและเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพที่ดี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต วางเป้าหมายที่ 3 Good Health and Well Being โดยในปี 2563 ได้ดำเนินการจัดตั้ง “ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพนานาชาติดันดามัน” (Andaman Health and Wellness Center) โดยมีแนวคิดในการขยายพื้นที่การดูแลด้านสุขภาพในโซนอันดามัน โดยขับเคลื่อน 3 ด้าน ได้แก่
1. การผลิตบัณฑิตบุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่มีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถ ควบคู่ไปกับทักษะด้านภาษา ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และให้บริการด้านการรักษาที่มีคุณภาพ แก่ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
2. การสร้างโรงพยาบาลที่ทันสมัยและรักษาโรคเฉพาะในพื้นที่ฝั่งอันดามัน รองรับการบริการทั้งในพื้นที่ภาคใต้ และนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ประชากรทุกช่วงวัย
3. การวิจัยและสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพ โดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการภายใต้การดูแลของนักวิจัย นักวิชาการ เพื่อคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์มากยิ่งขึ้นในอนาคต
โครงการวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ เป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญที่ขับเคลื่อนดังกล่าว โดยมีทีมอาจารย์และนักวิจัยจาก ศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน (AI-TaSI) วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นกำลังสำคัญในการนำองค์ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ดิจิทัลเทคโนโลยี และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ไปยังบริการของโรงพยาบาลและบริการท่องเที่ยวของผู้ประกอบการต่าง ๆ อย่างครบวงจร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อซีส นันทอมรพงศ์ คณบดีวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มีพันธกิจสำคัญในการผลิตบัณฑิตที่ในตลาดแรงงานทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล พัฒนางานวิจัยด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และสร้างสรรค์นวัตกรรม บริการวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อชุมชน สังคม ทั้งในและต่างประเทศ
ปัจจุบันวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีหลักสูตรครอบคลุมศาสตร์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย ปริญญาตรี จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ สาขาวิชาการคอมพิวเตอร์ (Computing), ธุรกิจดิจิทัล (Digital Business), วิศวกรรมดิจิทัล (Digital Engineering), หลักสูตรปริญญาโท จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ สาขาวิชาการคอมพิวเตอร์ (Computing), สาขาวิทยาการข้อมูล (Data Science) และหลักสูตรปริญญาเอก จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาการข้อมูล (Data Science)
นอกจากนี้ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังมีทีมวิจัยต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่นกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีบล็อกเชน กลุ่มวิจัยมัลติมีเดีย กลุ่มวิิจัยทางด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน (Andaman Intelligent Tourism and Service Informatics Center หรือ AI-TASI) ที่มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาระบบอัจฉริยะทางด้านการท่องเที่ยวโดยใช้ศาสตร์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้บริการแก่หน่วยงานรัฐ ผู้ประกอบการ ชุมชน และนักท่องเที่ยว
ดร.กาญจนา เหล่าเส็น หัวหน้าศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน กล่าวว่า ศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน (Andaman Intelligent Tourism and Service Informatics Center หรือ AI-TASI) วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยศูนย์วิจัยให้บริการ ดังนี้
1.วิจัยด้านการท่องเที่ยวโดยใช้ศาสตร์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล
2.รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริการและท่องเที่ยวฝั่งอันดามันเพื่อให้บริการและความรู้แก่หน่วยงานรัฐ ผู้ประกอบการและชุมชนในด้านการท่องเที่ยว
3.ให้คำปรึกษาด้านงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์
4.พัฒนาระบบอัจฉริยะด้านการท่องเที่ยวเพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว
ปัจจุบันศูนย์วิจัย AI-TaSI มีนักวิจัยที่เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์และการท่องเที่ยวจากหลากหลายภาคส่วน ได้แก่ นักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และนักวิจัยจากภาคเอกชน ได้ร่วมกันพัฒนางานวิจัยด้านท่องเที่ยวร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
สำหรับที่มาของโครงการวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์นั้น เกิดจากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในหลายด้าน เช่น การท่องเที่ยว การคมนาคมขนส่ง การบริการ และความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ ที่เป็นที่ยอมรับและเชื่อมั่นจากชาวไทยและต่างชาติ ส่งผลให้เกิดความต้องการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในจังหวัดภูเก็ต นอกจากนี้ในส่วนของโรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์ และโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต มีความต้องการในการเพิ่มรูปแบบการให้บริการทางการแพทย์ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มที่สามารถรองรับการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) และให้บริการนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ตั้งแต่ ก่อนเข้ารับการรักษา ระหว่างการรักษา และหลังการรักษา
ดังนั้นโครงการวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ จึงตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้งาน ทั้งผู้ให้บริการ เช่น โรงพยาบาล หน่วยงานที่ให้บริการด้านการแพทย์ ผู้ประกอบการการท่องเที่ยว และผู้รับบริการเช่น นักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติและชาวไทย โดยแพลตฟอร์์มนี้จะนำเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์โดยวิเคราะห์ข้อมูลการเข้ารับบริการทางการแพทย์ของนักท่องเที่ยวในมิติต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ครบวงจร อันนำมาซึ่งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในภูเก็ต ทั้งนี้เมื่อระบบถูกพัฒนาอย่างสมบูรณ์ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโรงพยาบาลอื่น ๆ ทั่วประเทศ รวมถึงโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างและใช้งานแพลตฟอร์มในอนาคตต่อไป
นายแพทย์ณรงค์ฤทธิ์ ฮาวรังษี รองประธานคณะผู้บริหาร กลุ่ม 6 บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ผู้อำนวยการ และกรรมการผู้จัดการบริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต และผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์ กล่าวว่า โรงพยาบาลภายใต้เครือบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS มีความยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการลงนาม MOU ในครั้งนี้ เนื่องด้วยจังหวัดภูเก็ตได้รับการขนานนามว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามและถูกจัดอันดับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก มีจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ด้วยปัจจัยสนับสนุนเชิงบวกด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และศักยภาพการแข่งขันในตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ส่งผลให้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดภูเก็ตมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องทั้งในด้านรายได้และจำนวนนักท่องเที่ยว สอดคล้องกับกระแสการเติบโตด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของโลกที่นักท่องเที่ยวได้เริ่มให้ความสำคัญในการสร้างความสมดุลของชีวิตทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หรือ Medical Tourism คือการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้วิถีชีวิต และพักผ่อนหย่อนใจ โดยแบ่งเวลาส่วนหนึ่งจากการท่องเที่ยวไปรับบริการ ทางการแพทย์ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เช่น การตรวจสุขภาพ การรักษาโรคต่าง ๆ การดูแลผิวพรรณความงาม การทำฟันและการรักษาสุขภาพฟัน รวมไปถึงการผ่าตัดศัลยกรรมตกแต่งความงาม หรือแม้กระทั่งการผ่าตัดแปลงเพศ เป็นต้น
BDMS PHUKET กลุ่มบริการโรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากลที่ตอบโจทย์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หรือ Medical Tourism มีความพร้อมที่จะให้การดูแลผู้รับบริการกลุ่ม Wellness Tourism ทั้งชาวไทยและต่างชาติ โดยศูนย์ดูแลสุขภาพและความงาม “ARTEMES Health and Beauty Destination Phuket” ภายใต้การนำของคณะแพทย์เฉพาะทางจากสถาบันศัลยกรรมตกแต่งความงามภูเก็ต สถาบันผิวหนังและความงาม คลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัย และศูนย์ทันตกรรม ศูนย์ดูแลสุขภาพและความงาม “ARTEMES Health and Beauty Destination Phuket” จึงสามารถให้การดูแลสุขภาพและความงามที่ครอบคลุม ครบจบในที่เดียว ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนสรีระ การทำทันตกรรมเพื่อเติมเต็มความมั่นใจ เพิ่มคุณภาพชีวิต ไปจนถึงการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันที่ลงลึกถึงระดับฮอร์โมนและเซลล์ให้ยังคงความเยาว์วัย โดยเน้นให้ความสำคัญกับคุณภาพการให้บริการ เพื่อสร้างมาตรฐานและประสบการณ์ทางการแพทย์ที่นำไปสู่ความสุขทั้งภายในและภายนอก สะท้อนความเป็นตัวตนที่ผู้รับบริการออกแบบร่วมกับคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และทีมงานมืออาชีพ
จากข้อมูลในปี 2562 ที่ผ่านมา จังหวัดภูเก็ตมีชื่อเสียงในตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์โดยเฉพาะในด้านศัลยกรรมตกแต่งความงาม และการชะลอวัย โดยร้อยละ 70 ของลูกค้าศัลยกรรมตกแต่งความงาม คือ นักท่องเที่ยวจากประเทศออสเตรเลีย ในขณะที่ลูกค้ากลุ่มหลักของการบริการชะลอวัย คือ นักท่องเที่ยวชาวจีน ที่เลือกใช้บริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดภูเก็ตด้วยเพราะปัจจัยต่าง ๆ อาทิ โรงพยาบาลในจังหวัดภูเก็ตมีมาตรฐานในระดับสากลผ่านการรับรองคุณภาพ JCI บุคลากรทางการแพทย์มีความรู้ความสามารถทักษะความชำนาญเฉพาะด้าน มีเทคโนโลยีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย รวมไปถึงความคุ้มค่าในการบริการที่เหมาะสมกับคุณภาพที่ได้รับ
ดังนั้น จากความการร่วมมือระหว่าง BDMS PHUKET และศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดภูเก็ต ในการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ จะทำให้จังหวัดภูเก็ตมีศักยภาพสูงในการก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก เป็นต้นแบบเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทยต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้
CoC-PSU, AI-TaSI ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท ไซบอร์โท จำกัด
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำโดย ดร.อดิศักดิ์ อินทนา รองคณบดีฝ่ายวิชาการ, ดร.กาญจนา เหล่าเส็น หัวหน้าศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน (AI-TaSI) พร้อมด้วยผู้บริหารระดับหลักสูตร ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านการวิชาการและวิจัย (MOU) ระหว่าง วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และ บริษัท ไซบอร์โท จำกัด
ซึ่งการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ในครั้งนี้ วิทยาลัยและบริษัท ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเสริมทักษะในการปฏิบัติงานจริงให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในสายวิชาชีพที่ศึกษา การพัฒนาศักยภาพด้านงานวิจัย โดยมีขอบข่ายการดำเนินงานตามความร่วมมืออยู่บนพื้นฐานของการยอมรับของทั้งสองฝ่าย ที่เห็นพ้องร่วมกัน โดยถือเอาประโยชน์ของนักศึกษาและบุคลากรเป็นสำคัญ
-----------------------------------
CoC-PSU, AI-TaSI had a “Memorandum of Understanding” signing with Cyborto Co., LTD.
.
On March 1, 2023, the College of Computing, Prince of Songkla University, led by Dr. Adisak Intana, Associate Dean for Academic Affairs, Dr. Kanjana Laosen, the head of Andaman Intelligent Tourism and Service Informatics Center (AI-TaSI) with the programme executives had a “Memorandum of Understanding” signing between College of Computing, AI-TaSI and Cyborto Co., LTD.
In the MOU signing ceremony, the two organizations discussed cooperation and collaboration regarding cooperative education, work-integrated learning (WIL) with curriculum courses, workshops to prepare students for cooperative education, and research and development. The scope of cooperation is based on mutual acceptance and consensus by taking the benefit of the students and staff as a priority.
วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอแสดงความยินดีกับ ดร.อดิศักดิ์ อินทนา และ ดร.กาญจนา เหล่าเส็น
วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ขอแสดงความยินดีกับ ดร.อดิศักดิ์ อินทนา และ ดร.กาญจนา เหล่าเส็น
ได้ผ่านการประเมินรับรองคุณภาพด้านการจัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานอาจารย์มืออาชีพ UK Professional Standards Framework (UKPSF)
ระดับ Fellow (FHEA) จาก The Higher Education Academy (HEA) สหราชอาณาจักร
AI-TaSi ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.อซีส นันทอมรพงศ์ ที่ได้รับรางวัลบุคลากรและนักวิจัยดีเด่นระดับคณะ/หน่วยงาน ประจำปี 2563
AI-TaSi ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อซีส นันทอมรพงศ์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์
ที่ได้รับรางวัล
- บุคลากรดีเด่นของคณะ/หน่วยงาน ประจำปี 2563
- นักวิจัยดีเด่นของคณะ/หน่วยงาน ประจำปี 2563
- นักวิจัยที่ได้รับรางวัลจากการนำเสนอผลงานระดับนานาชาติ ประจำปี 2563
ในงานคุณค่าสงขลานครินทร์ 2564 (Pride of PSU)
--------------------------------------
Congratulations to Assistant Professor Dr.Aziz Nanta-amornpong, Lecturer of College of Computing, PSU Phuket, on the occasion of receiving awards
Outstanding Personnel of the Faculty / Organization for the Year 2020
Outstanding Researcher of the Faculty / Organization for the year 2020
Award-winning researchers for the 2020 international presentation from the Pride of PSU 2021 event.
AI-TaSi ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.อซีส นันทอมรพงศ์ ที่ได้รับรางวัลบุคลากรและนักวิจัยดีเด่นระดับคณะ/หน่วยงาน ประจำปี 2563
วช. มอบรางวัลระดับดี MEMMIFY โปรแกรม AI สัญชาติไทย เก็บข้อมูลได้ง่าย ในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน
ในปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญและมีส่วนเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การทำธุรกรรม การติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล รวมถึงใช้เป็นฐานเก็บข้อมูลสำคัญต่าง ๆ แต่กระบวนการจัดเก็บข้อมูลยังคงเป็นอุปสรรค เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักจะหลงลืม จนหาไฟล์ไม่พบ จำข้อมูลผิดพลาด รวมถึงจัดส่งเอกสารไม่ถูกต้อง
ศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน (Andaman Intelligent Tourism and Service Informatics Center: AI-TaSI) ร่วมกับ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดย ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ณัฐพงศ์ ทองเทพ และนายวรุณ ซิงห์เกิล นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมดิจิทัล วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้ร่วมพัฒนาโปรแกรม “เมมมิฟาย” (Memmify) มาช่วยแก้ไขปัญหา พร้อมช่วยประมวลผลข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น การแนะนำหมวดหมู่หรือป้ายกำกับให้กับเนื้อหาต่าง ๆ ที่ผู้ใช้เพิ่มเข้าไป ช่วยประหยัดเวลาของผู้ใช้งานในการจัดระเบียบของข้อมูลเหล่านั้น
ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ณัฐพงศ์ ทองเทพ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กล่าวว่า “เมมมิฟาย” (Memmify) เป็นโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ ในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชันที่ช่วยในการวิเคราะห์และประมวลข้อมูลที่ใช้งานได้ง่ายสำหรับทุกคน เพียงผู้ใช้จดบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบเสมือนจดบันทึกทั่วไป ส่วนที่เหลือโปรแกรมจะวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลดังกล่าวให้โดยอัตโนมัติ เช่น แปลงภาพอักษรให้เป็นข้อความ, แนะนำป้ายกำกับเนื้อหา, แปลงข้อความเป็นเสียงพูด, วิเคราะห์ความคิดเห็น, จัดกลุ่มเนื้อหา โดยทำงานร่วมกับ API ของ AI FOR THAI ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบริการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ภายใต้แนวคิด “AI สัญชาติไทย” เพื่อตอบโจทย์ความต้องการใช้งานในประเทศไทย ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
นายวรุณ ซิงห์เกิล นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมดิจิทัล วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กล่าวว่า เมมมิฟาย” (Memmify) ได้เปิดให้ทดลองใช้งานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่เว็บไซต์ www.computing.psu.ac.th
หรือที่ www.computing.psu.ac.th/nattapong
โดยให้ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไป สามารถเข้าไปจัดเก็บข้อมูล และมองดูไอเดียในการวิเคราะห์ข้อมูล และสามารถนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลไปต่อยอดในการทำธุรกิจ หรือดำเนินกิจการต่าง ๆ เช่น สามารถประยุกต์ใช้เป็นระบบการจัดเก็บเอกสารข้อมูลของทางบริษัท Startup หน้าใหม่เพื่อใช้แทนในการเก็บไฟล์ข้อมูลธรรมดาที่ไม่สามารถค้นหาข้อความหรือประโยคที่ต้องการในเอกสาร, เพิ่มความสะดวกในการสแกนเอกสารที่เป็น PDF เป็นตัวอักษร, ใช้ในการวิเคราะห์อารมณ์ของจดหมาย บทความ หรือเอกสารก่อนที่จะส่งให้ผู้อื่น, สามารถใช้ในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในการวิเคราะห์อารมณ์ของนักท่องเที่ยว จากความคิดเห็น (Comment) ที่วิจารณ์ (Review) ไว้ในของเพจต่าง ๆ
สำหรับ “เมมมิฟาย” (Memmify) โปรแกรมประยุกต์ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวิเคราะห์และประมวลภาษาไทยสำหรับทุกคน ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพ
ที่มา: ข่าวจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
AI-TaSi ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์และนักศึกษา ที่ได้รับรางวัลชมเชย ระดับประเทศ NSC2021 โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์
AI-TaSI ขอแสดงความยินดีกับ นายวรุณ ซิงห์เกิล นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ) ได้รับรางวัลชมเชย ในการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 (NSC 2021) ระดับประเทศ
หมวดพิเศษ : โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Application)
ชื่อผลงาน : โครงการเมมมิฟาย
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ ทองเทพ
ทีมนักวิจัย AI-TaSI ได้รับทุนวิจัยมูลค่า 28,960,000 บาท
ทีมนักวิจัย ของศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน (Andaman Intelligent Tourism and Service Informatics Center: AI-TaSI) ได้รับทุนสนับสนุนจำนวน 28,960,000 บาท จาก แผนงานโครงการพลิกโฉมระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย (Reinventing University System) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้ชื่อโครงการ “ดิจิทัลทวินเพื่อการท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน” โดยนักวิจัยของศูนย์ฯ ประกอบด้วย
ผศ.ดร.อซีส นันทอมรพงศ์
ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ ทองเทพ
ผศ.ดร.กิตย์ศิริ ช่อเจี้ยง
ดร.กาญจนา เหล่าเส็น
ดร.อดิศักดิ์ อินทนา
อ.เลอลักษณ์ บุญล้ำ
เป้าหมายสำคัญสำหรับโครงการนี้ คือ การพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการบริการ ได้แก่
- แพลตฟอร์มสำหรับการท่องเที่ยวตามแนวคิดดิจิทัลทวิน และคลังข้อมูลเชิงความหมายขนาดใหญ่
- ระบบการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนแบบดิจิทัล
- ระบบการจัดการและบริหารเพื่อช่วยวางแผนทิศทาง และนโยบายด้านการท่องเที่ยว
- ระบบบริหารจัดการข้อร้องเรียนและความคิดเห็นด้านการท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยีปัญญา ประดิษฐ์
โครงการวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพลิกโฉมระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย (Reinventing University System) โดยมุ่งเน้นพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ที่จำเป็นในการสร้างโอกาสให้คนไทยเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของประเทศ เสริมสร้างนวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม ตลอดจนช่วยพัฒนาคุณภาพของชีวิตของคนในเมืองและเชื่อมโยงความเจริญสู่ชนบท
AI-TaSI ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับเทศบาลเมืองป่าตอง
วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นำทีมโดย ผศ.ดร.อซีส นันทอมรพงศ์ คณบดีวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ดร. กาญจนา เหล่าเส็น หัวหน้าศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน (AI-TaSI) พร้อมด้วยนายวีระศักดิ์ ขมิ้นทอง รองนายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง และนายรักษ์ศักดิ์ หนูเชต เลขานุการนายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ (MOU) ระหว่างศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และเทศบาลเมืองป่าตอง ณ องประชุมพระพิศิษฐ์กรณีย์ ชั้น 3 สำนักงานเทศบาลเมืองป่าตอง เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา
สำหรับบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ (MOU) ในครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อความร่วมมือกันระหว่างสองหน่วยงานในการเสริมสร้างผลงานการวิจัย พัฒนาความรู้ เพิ่มขีดความสามารถในด้านการท่องเที่ยว สร้างความร่วมมือด้านบุคลากรระหว่างหน่วยงาน สนับสนุนข้อมูลและการประสานงานร่วมกัน ตลอดจนสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
AI-TaSi ร่วมสนับสนุนการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ ECTI-CON 2020
AI-TaSi ร่วมเป็นผู้สนับสนุนการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ The 17th International Conference on Electrical Engineering/Electronics, Computer, Telecommunications and Information Technology (ECTI-CON 2020) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-27 มิถุนายน 2563 ณ โรงแรมเมโทรโพล จังหวัดภูเก็ต สำหรับงาน ECTI-CON 2020 นี้ คาดว่าจะมีจำนวนผลงานวิชาการจากนักวิจัยทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 200 บทความ และในงานจะมีการนำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการ รวมถึงการสร้างความร่วมมือทางวิชาการใกลุ่ม นักวิจัย นักศึกษา และบริษัท
วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสมาคมโรงแรมหาดป่าตอง จ.ภูเก็ต
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2562 ทางวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ นำทีมโดย รศ.ดร.สินชัย กมลภิวงศ์ คณบดี และคณะวิเทศศึกษา นำทีมโดย ผศ.ดร.พิม เดอะ ยง รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสมาคมโรงแรมหาดป่าตอง จ.ภูเก็ต โดยคุณศลิษา ลิ่มสกุล พร้อมทีมผู้บริหาร ในการนี้ทางวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ได้รับเกียรติจาก Mr.Yang Wenbo ผู้อำนวยการฝ่ายจีนสถาบันขงจื้อภูเก็ต ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามฯ โดยการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้มีเพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารของบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการให้สามารถสื่อสารภาษาจีนรวมทั้งภาษาต่างประเทศอื่น ๆได้อย่างคล่องแคล่ว
วัตถุประสงค์ของความร่วมมือมีมากมาย อาทิเช่น การพัฒนาเนื้อหาและรูปแบบแอปพลิเคชันในการเรียนรู้ภาษาจีนสำหรับพนักงานโรงแรม การจัดตั้งศูนย์สอบวัดระดับทักษะภาษาต่างประเทศของบุคลากรในอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว จ.ภูเก็ต เป็นต้น ในการลงนามฯครั้งนี้ ทั้งสามฝ่ายได้หารือถึงความร่วมมือเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะในระยะยาวอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
AI-TaSi แสดงความยินดีกับ ดร.ณัฐพงศ์ ทองเทพ ที่ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น
AI-TaSi ขอแสดงความยินดีกับ ดร.ณัฐพงศ์ ทองเทพ ผู้ได้รับคัดเลือกเป็น ศิษย์เก่าดีเด่น ด้านผลงานดีเด่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี ๒๕๖๒
AI-TaSi ร่วมประชุมหารือแนวทางความร่วมมือเชิงวิชาการและวิจัยกับคณะผู้บริหารจากสมาคมโรงแรมป่าตอง จังหวัดภูเก็ต
วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2562 ทางวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ นำโดย รศ.ดร.สินชัย กมลภิวงศ์ รักษาการในตำแหน่งคณบดีวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ พร้อมด้วยนักวิจัย AI-TaSi และ ดร.ศุภชัย แจ้งใจ คณะวิเทศศึกษา ได้รับเกียรติจากคณะผู้บริหารจากสมาคมโรงแรมป่าตอง จังหวัดภูเก็ต นำโดย คุณนฤดี พงษ์นริศร อุปนายกฝ่ายบริหาร, คุณสิทธิชัย ธนากรเจริญ อุปนายกฝ่ายการตลาด และ คุณณรงค์ชัย อุทานัง กรรมการบริหาร
ร่วมประชุมหารือแนวทางความร่วมมือเชิงวิชาการและวิจัย ตลอดจนแนวทางในการพัฒนาต้นแบบการส่งเสริมทักษะภาษาจีนให้กับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและการบริการด้วยเทคโนโลยีและสื่อดิจิทัล รวมถึงแผนการจัดตั้งศูนย์สอบวัดระดับทักษะภาษาต่างประเทศ
วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ร่วมกับ 14 องค์กรในภาคใต้ ลงนาม MOU วิจัย เพิ่มขีดความสามารถ แข่งขันธุรกิจสปา
วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ร่วมลงนาม MOU วิจัย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพในภาคใต้ ก้าวสู่การเป็นผู้นำท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพระดับสากล ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
นักวิจัย AI-TaSi ได้รับทุนสนุนโครงการวิจัย จาก สกสว.
ผศ.ดร.อซีส นันทอมรพงศ์ ได้รับทุนวิจัยโครงการ การพัฒนาช่องทางทางการตลาดของธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพในพื้นที่ภาคใต้สู่ระดับสากล ภายใต้แผนการวิจัยและนวัตกรรม (Spearhead) กลุ่มบริการมูลค่าสูง Wellness Tourism จาก สกสว.